เจาะลึกวงการ บอลไทยลีค ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหนบ้าง

บอลไทยลีค

หากจะเอ่ยถึงวงการลูกหนังบ้านเรา ก็ต้องยอมรับเลยว่ามาแรงจริงๆ ซึ่งสำหรับ บอลไทยลีค  (Thai league) นั้น ตอนนี้ได้รับความสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติ ต่างก็ให้การยอมรับในฝีมือการเล่นของนักเตะไทย

ทำให้มีแฟนบอลหน้าใหม่หลั่งไหลกันเข้ามาเชียร์ และสนับสนุนวงการลูกหนังบ้านเราเพิ่มเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เรา FIFA55 ก็ไม่พลาดที่นำข้อมูลดีๆ มาฝากทุกคน ตามมาดูกันเลย

สารบัญ

1. ความเป็นมาของบอลไทยลีค

2. รายชื่อสโมสร บอลไทยลีค มีทีมอะไรบ้าง

3. รูปแบบการแข่งขัน

4. กฎกติกาใหม่ 2020 ของบอลไทยลีค

5. ทำเนียบแชมป์ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีค

6. สรุปบอลไทยลีค

ความเป็นมาของบอลไทยลีค

ฟุตบอลไทยลีค เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีคระดับประเทศของไทย ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2539 ภายใต้การบริหารงานของบริษัท ไทยลีค จำกัด ในปีนั้น สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการแข่งขันฟุตบอลในประเทศ เพื่อยกระดับให้มีมาตรฐาน

เดิมทีการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรสูงสุดของประเทศ คือ การเตะฟุตบอลเพื่อชิงถ้วยพระราชทานประเภท ก. ( ถ้วยใหญ่ ) จัดการแข่งขันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2459 ยาวจนถึงปี พ.ศ. 2538 โดยมีสโมสรฟุตบอลต่างๆ เข้าร่วมแข่งขันในฤดูกาลแรกทั้งหมด 18 สโมสร ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็น 10 สโมสร จนถึงฤดูกาลปีพ.ศ. 2547-2548

โดยในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการยุบโปรวินเชียลลีค โดยให้สโมสร 4 อันดับแรก เข้าแข่งขันในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีคแทน รวมจำนวนสโมสรในไทยแลนด์พรีเมียร์ลีคเป็น 16 ทีม พร้อมทั้งเพิ่มเงื่อนไขให้สโมสร ซึ่งอยู่ใน 3 อันดับสุดท้ายเมื่อจบฤดูกาล ต้องตกชั้นไปสู่ไทยลีคดิวิชัน 1 โดยมีทีมชนะเลิศ กับอันดับ 2 และ 3 ของไทยลีคดิวิชัน 1 ขึ้นชั้นมาสู่ไทยพรีเมียร์ลีคเป็นการทดแทน ทั้งนี้ สโมสรฟุตบอลชลบุรี กลายเป็นทีมแรก ซึ่งเพิ่งเข้ามาจากโปรวินเชียลลีค แล้วชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีคได้ในฤดูกาลเดียวกัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ออกระเบียบว่าด้วยความเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นผลให้สมาคมต้องดำเนินการจัดตั้ง บริษัท ไทยพรีเมียร์ลีค จำกัด ขึ้นเพื่อเป็นผู้จัดการแข่งขัน ฟุตบอลลีคภายในประเทศ อย่างเป็นอาชีพที่แท้จริง

โดยมีวิชิต แย้มบุญเรือง อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย เป็นประธานกรรมการคนแรก และออกระเบียบให้ผู้บริหารสโมสรฟุตบอลอาชีพ ต้องจัดตั้งในรูปนิติบุคคล (บริษัท) เพื่อดำเนินการบริหารสโมสร ส่งผลให้มีการแข่งขันเชิงรูปแบบ การบริหารจัดการให้เป็นมืออาชีพยิ่งขึ้น

รวมทั้งแพร่หลายออกไปยังส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ จากเดิมที่สโมสรฟุตบอลต่างๆ จะกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพมหานค รและปริมณฑลเท่านั้น จึงกลับมาเป็นที่นิยมของแฟนฟุตบอลไทยอีกครั้ง โดยในฤดูกาล 2554 สมาคม ประกาศเพิ่มจำนวนสโมสรที่ได้สิทธิ เลื่อนชั้นขึ้นจากลีคดิวิชัน 1 เป็นผลให้ไทยพรีเมียร์ลีค มีสโมสรที่เข้าแข่งขันรวมเป็น 18 ทีม

ในฤดูกาล 2557 เพิ่มสมาชิกเป็น 20 สโมสรฟุตบอล ด้วยการให้สโมสรอันดับที่ 17 ลงไปแข่งขันในไทยลีคดิวิชัน 1 เพียงทีมเดียว และเมื่อสิ้นสุดฤดูกาลดังกล่าว ก็ให้สโมสรที่ลงไปแข่งขันไทยลีคดิวิชัน 1 ต้องมีถึง 5 ทีมคือ อันดับที่ 16-20 (ขณะเดียวกัน ทั้งสองฤดูกาลดังกล่าว ยังคงให้สโมสรชนะเลิศ, อันดับที่ 2 และอันดับที่ 3 ของไทยลีคดิวิชัน 1 ขึ้นมาแข่งขันในไทยพรีเมียร์ลีคตามเดิม) เพื่อทำให้สโมสรสมาชิก คงเหลือเพียง 18 ทีมเท่าเดิม

และได้มีการปรับเปลี่ยนกฎมาเรื่อยๆ จนถึงยุคปัจจุบัน ที่มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 16 สโมสร แต่ละทีมก็มีฟอร์มการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งนักเตะแต่ละทีมก็มีประสบการณ์ลงสนามอย่างช่ำชอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไทยลีคเป็นลีคที่น่าสนใจ

ลีคอื่นๆ ที่น่าสนใจ บอลลาลีก้าสเปน

ความเป็นมาของบอลไทยลีก
กลับสู่สารบัญ

รายชื่อสโมสร บอลไทยลีค มีทีมอะไรบ้าง

แน่นอนว่า บอลไทยลีค มีอยู่หลายสโมสร สำหรับมือใหม่คนไหนที่เพิ่งติดตามไทยลีค เราได้รวบรวมรายชื่อทั้งหมดมาไว้ให้คุณที่นี้แล้ว

แบงค็อก ยูไนเต็ด

  • มีฉายาว่า แข้งเทพ เพราะลงสนามครั้งไหนก็มีโอกาสคว้าชัยกลับบ้านเสมอ โดยทางสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด ตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงของกรุงเทพมหานคร แม้ว่าตอนนี้จะย้ายไปเตะที่ ณ สนามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต จากเดิมที่เคยเตะอยู่สนามไทย-ญี่ปุ่นดินแดง แต่ถึงอย่างนั้นทุกคนก็ยังคงอยากรักษาชื่อเอาไว้ เพราะต้องการอยากให้เป็นสโมสรของกรุงเทพต่อไป

สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด

  • มีฉายาว่า กวางโซ้งมหาภัย ที่มาก็คือผู้บริหารอยากได้สัตว์ประจำสโมสร ถึงแม้เชียงรายจะไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องการชนกวางแบบชาวล้านนา แต่ก็ถือว่ามาจากภาคเหนือเหมือนกัน เลยเลือกกวางมาเป็นสัตว์ประจำสโมสรที่แม้จะตัวเล็ก แต่ก็ปราดเปรียว ว่องไว พร้อมสู้อยู่เสมอ

บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด

  • มีฉายาว่า ปราสาทสายฟ้า เนื่องจากปราสาทหินพนมรุ้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัด จึงนำมาตั้งเป็นสิริมงคล ส่วนคำว่าสายฟ้าก็มาจากการก่อตั้งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ราชบุรี มิตรผล เอฟซี

  • มีฉายาว่า ราชันมังกร ผู้บริหารสโมสรราชบุรี มิตรผล เอฟซี มองว่าจังหวัดนี้มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ และของขึ้นชื่อของจังหวัดก็คือ โอ่งมังกร ที่มีลวดลายสวยงาม จึงตัดสินใจนำมาตั้งเพื่อเป็นสิริมงคลแก่สโมสร

การท่าเรือ เอฟซี

  • มีฉายาว่า สิงห์เจ้าท่า ที่นับว่าเป็นสโมสรเก่าแก่ที่สุดของไทย โดยสโมสรการท่าเรือเป็นทีมขององค์กรการท่าเรือแห่งประเทศไทย ทำให้ที่มีการนำคำว่าท่าเรือมาตั้ง แต่อยากเพิ่มความขลังเลยเลือกคำว่าสิงห์เข้าไปด้วย นี่ก็เป็นที่มาของฉายาที่ใช้จนถึงทุกวันนี้

สุพรรณบุรี เอฟซี

  • มีฉายาว่า ช้างศึกยุทธหัตถี โดยยกมาจากประวัติศาสตร์ในจังหวัดที่พระนเรศวรมหาราชใช้ช้างทำศึกนั่นเอง จึงเป็นที่มาของฉายาสโมสรนี้ เพื่อเป็นขวัญกำลังในให้ฮึกเหิมเวลาลงแข่ง

เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

  • มีฉายาว่า กิเลนผยอง โดยเชื่อกันว่า กิเลน เป็นสัตว์มงคลที่จะนำโชคลาภความสำเร็จมาให้ จึงใช้เป็นสัตว์ประจำสโมสร และมีการเติมคำว่า ผยอง ลงไป เพื่อเป็นการข่มขวัญคู่ต่อสู้ให้รู้สึกเกรงขาม

บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

  • มีฉายาคือ “เดอะ บลูแมชชีน ” หรือ “ กระต่ายแก้ว ” ตามแต่ถนัด ซึ่งสโมสรนี้เดิมทีชื่อสโมสร บางกอก กล๊าส เอฟซี ภายใต้บริษัทผลิตขวดแก้วที่เทคโอเวอร์ทีมมาจากธนาคารกรุงไทย จากนั้นก็ตั้งฉายาโดยเพิ่มคำว่าแก้วลงไป และเลือกสัตว์อย่างกระต่ายที่เป็นปีนักษัตรของประธานสโมสรเข้ามาเป็นสัตว์ประจำสโมสรด้วย

โปลิศ เทโร เอฟซี

  • มีฉายาว่า มังกรโล่เงิน โดยสโมสรนี้เกิดจากการรวมตัวกันของ 2 องค์กรคือ บีอีซี เทโร กับ สโมสรตำรวจ ทำให้ฉายาจึงเป็นการผสมกันระหว่าง มังกรไฟ ฉายาเดิมของบีอีซี เทโร กับ สุภาพบุรุษโล่เงิน ฉายาเก่าของสโมสรตำรวจที่ถูกยุบไป

สุโขทัย เอฟซี

  • มีฉายาว่า ค้าวคาวไฟ เนื่องจากสุโขทัยมีแหล่งท่องเที่ยวอย่าง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม ที่มีค้างคาวนับล้านอาศัยอยู่ จึงนำมาใช้เป็นสัตว์ประจำสโมสร และต้องการให้ทีมดูน่าเกรงขามมากขึ้นเลยเติมคำว่า ไฟ ลงไป

ชลบุรี เอฟซี

  • มีฉายาว่า ฉลามชล ที่มาคือจังหวัดชลบุรีอยู่ติดกับทะเล และถ้าจะนึกถึงสัตว์ที่ดุดันก็ต้องเป็นฉลาม แต่จะให้เรียกฉลามเฉยๆ อย่างเดียวก็สั้นไป เลยเพิ่มคำว่า ชล ลงไปเพื่อให้รู้สึกฮึกเหิมพร้อมท้าชนกับทุกทีม

นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี

  • มีฉายาว่า สวาดแคท ที่มาก็คือจังหวัดนครราชสีมาเป็นแหล่งที่ค้นพบแมวสีสวาด จึงได้นำมาตั้งเพื่อนำมาซึ่งโชคลาภ และใช้แมวเป็นสัตว์ประจำสโมสร

พีที ประจวบ เอฟซี

  • มีฉายาว่า ต่อพิฆาต ที่มาคือมาจากชื่อเล่นของรมต. เฉลิมชัย ศรีอ่อน สส. ของจังหวัดในเวลานั้น จึงนำมาตั้ง เพื่อเป็นการให้เกียรติ และใช้เป็นสัตว์ประจำสโมสร โดยเพิ่มคำว่า พิฆาต ลงไปเพื่อให้คู่แข่งรู้สึกเกรงขาม

สมุทรปราการ ซิตี้

  • มีฉายาว่า เขี้ยวสมุทร โดยเมื่อก่อนเป็นทีมที่มาจากพัทยา ยูไนเต็ด แต่ถูกเทคโอเวอร์และย้ายสนามที่สมุทรปราการ ซึ่งทางสโมสรก็อยากได้ฉายาที่ดูดุดันให้คู่แข่งเกรงกลัว จึงเอาคำว่าเขี้ยว กับ สมุทร มาผสมผสานกันกลายเป็นที่มาของฉายาสโมสรจนถึงทุกวันนี้

ระยอง เอฟซี

  • มีฉายาคือ ม้านิลมังกร เพราะม้านิลมังกรเป็นสัตว์ในวรรณคดีอย่างเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งทางสโมสรจึงนำมาใช้เป็นสัตว์ประจำสโมสร

ตราด เอฟซี

  • มีฉายาว่า ช้างขาวจ้าวเกาะ ที่มาของฉายานี้คือ ในสมัยร.5 ฝรั่งเศสได้ล่าอณานิคม ทำให้ไทยยกตราดให้ฝรั่งเศส ซึ่งหน้าศาลากลางจังหวัดตราดตอนนั้น เป็นรูปธงช้างขาว แต่เมื่อเวลาผ่านไปตราดก็กลับมาเป็นของไทยอีกครั้ง สโมสรจึงนำมาตั้งชื่อเพื่อระลึกถึง

และนี่ก็คือรายชื่อสโมสรกับฉายาต่างๆ ของทั้ง 16 สโมสรในไทยลีค ที่เราได้รวบรวมมาฝากกัน

บทความที่น่าสนใจ มาทำความรู้จักกับ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ

กลับสู่สารบัญ

รูปแบบการแข่งขัน

บอลไทยลีค มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 16 สโมสร ดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 30 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล ซึ่งในแต่ละนัด ผู้ชนะจะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้คะแนน

เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สโมสรที่ได้คะแนนรวมสูงสุด จะได้รับตำแหน่งชนะเลิศ และได้สิทธิไปแข่งขันรายการ เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีค รอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ ส่วนสโมสรที่ได้รองชนะเลิศ และอันดับที่ 3 จะได้ไปแข่งในรายการเดียวกัน แต่จะแข่งขันใน รอบคัดเลือก รอบสอง (กรณีสโมสรที่ชนะเลิศ หรือรองชนะเลิศไทยลีค และสโมสรที่ชนะเลิศ ไทย เอฟเอคัพ ในฤดูกาลเดียวกัน เป็นสโมสรเดียวกัน สิทธิแข่งขันจะตกเป็นของสโมสรที่ได้คะแนนอันดับที่ 4 ของลีคแทน)

ส่วนสโมสรที่ได้คะแนนรองลงมา จะเรียงอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้ โดยสโมสรที่จบฤดูกาลในสามอันดับสุดท้าย จะตกชั้นสู่ไทยลีค 2 และ ทีมที่อันดับสูงที่สุดสองทีมในไทยลีค 2 จะเลื่อนชั้นไป พร้อมกับอีกหนึ่งทีมที่มาจากการชนะเลิศในการแข่งขันเพลย์ออฟระหว่างอันดับที่ 3, 4, 5 และ 6

ในกรณีที่มีสโมสรมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับดังนี้

  • พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากัน ที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาลที่เพิ่งจบการแข่งขัน (Head To Head)
  • พิจารณาจากจำนวนครั้งที่ชนะ (Number of Wins) ของแต่ละทีมที่คะแนนเท่ากัน
  • พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)
  • พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals For)
  • แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติ ให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษ
  • ในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้ว และได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป

ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขัน เพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้

  • พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด
  • ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ ประตูเสีย
  • ถ้ายังเท่ากันอีกให้ดูเฉพาะประตูได้
  • ถ้ายังเท่ากันอีกให้ทำการจับฉลาก
กลับสู่สารบัญ

กฎกติกาใหม่ 2020 ของ บอลไทยลีค

โดยปกติแล้ว บอลไทยลีค มีกติกาการเล่นไม่ซับซ้อนเลย และเมื่อไม่นานมานี้ฝ่ายจัดการแข่งขันฟุตบอลไทยลีค ก็ได้ประกาศโปรแกรมการแข่งขันไทยลีค 1 และไทยลีค 2 ประจำฤดูกาลปี 2020 ออกมาแล้ว แต่เนื่องจากติดโควิด-19 เลยทำให้การแข่งขันไม่เป็นไปตามกำหนด แต่ถึงอย่างนั้นเราก็มาศึกษากติการอการแข่งขันกันดีกว่า ซึ่งรายละเอียดก็มีดังนี้

1. โควต้าอาเซียน

เมื่อก่อนขอแค่นักเตะมีสัญชาติอยู่ในอาเซียน ก็สามารถลงเล่นได้เลย แต่ปีนี้มีการปรับเปลี่ยนยกเลิกกฎนี้ในไทยลีค 3-4 โดยมุ่งเน้นไปที่เยาวชนมากขึ้นเช่น ถ้าหากเล่นได้ดี ก็อาจมีสิทธิ์ไปเล่นไทยลีค 1-2 โดยกฎดังกล่าวนี้ยังคงมีอยู่ในไทยลีค 1-2

2. การล้มบอล

เนื่องจากเมื่อก่อนมักมีการล้มบอลเกิดขึ้น ทางไทยลีคจึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ เพื่อป้องกันการล้มบอล และเพื่อให้เกิดความยุติธรรมในการแข่งขันมากขึ้น

3. โควตาเลื่อนชั้น

ในปีนี้อันดับที่ 1 และ 2 มีการเลื่อนชั้นกันเหมือนเดิม ส่วนอันดับที่ 3-6 จะไปเพลย์ออฟ (Playoff) กันอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะคล้ายๆ กับเกมการแข่งขัน Championship ของอังกฤษ กัลโช่ เซเรีย อา ของอิตาลี หรือเจลีคของญี่ปุ่นเป็นต้น และในเรื่องของการตกชั้น แม้ว่าไทยจะมีการปรับเปลี่ยนการเลื่อนชั้น แต่ในส่วนของการตกชั้นของไทยยังเป็น 16-18 เหมือนเดิม

4. กฎคัพไท

กฎของเมื่อก่อนคือ สมมุติว่านักเตะคนนี้เคยเตะถ้วยลีคคัพ หรือเอฟ เอ คัพ มาก่อน แต่เมื่อย้ายทีมแล้วจะไม่สามารถเล่นถ้วยนี้ให้กับต้นสังกัดใหม่ได้ แต่ในปีนี้ก็ได้มีการเปลี่ยนกฎแล้ว โดยให้นักเตะสามารถลงเล่นได้เลยทันที

5. การถอนทีม

หากมีการถอนทีมในระหว่างฤดูกาลแข่งขันเกิดขึ้น จะโดนค่าปรับทันที 2 ล้านบาท โดยไม่มีการโต้แย้งใดๆ แต่หากจบฤดูกาลเรียบร้อยแล้ว เกิดอยากถอนทีมก็จะโดนปรับ 1 ล้านบ้าน

6. การดู AR

มันสามารถตรวจได้ทุกมุมของสนามที่ไม่ชัดเจน หรือเป็นจุดที่ผู้ตัดสินไม่สามารถมองด้วยตาเปล่าทัน โดยจะมีทีมงานอยู่บริเวณด้านบนของสนาม คอยควบคุม และช่วยในการตัดสินด้วย

7. แจ้งเรื่องอุ่นเครื่อง

ในกรณีที่ทีมไปทำการซ้อมอุ่นเครื่องกับทีมต่างประเทศ จะต้องทำการแจ้งให้สมาคมทราบก่อน ไม่เช่นนั้นจะมีโทษโดนปรับ

กลับสู่สารบัญ

ทำเนียบแชมป์ไทยแลนด์ พรีเมียร์ลีค

  • ครั้งที่ 1 : 1996 ( พ.ศ. 2539 ) ธนาคารกรุงเทพ
  • ครั้งที่ 2 : 1997 ( พ.ศ. 2540 ) ทหารอากาศ
  • ครั้งที่ 3 : 1998 ( พ.ศ. 2541 ) สินธนา
  • ครั้งที่ 4 : 1999 ( พ.ศ. 2542 ) ทหารอากาศ
  • ครั้งที่ 5 : 2000 ( พ.ศ. 2543 ) บีอีซี เทโรศาสน
  • ครั้งที่ 6 : 2001 ( พ.ศ. 2544 ) บีอีซี เทโรศาสน
  • ครั้งที่ 7 : 2002 – 2003 ( พ.ศ. 2545 – 2546 ) ธนาคารกรุงไทย
  • ครั้งที่ 8 : 2003 – 2004 ( พ.ศ. 2546 – 2547 ) ธนาคารกรุงไทย
  • ครั้งที่ 9 : 2004 – 2005 ( พ.ศ. 2547 – 2548 ) พนักงานยาสูบ
  • ครั้งที่ 10 : 2005 – 2006 ( พ.ศ. 2548 – 2549 ) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ครั้งที่ 11 : 2007 ( พ.ศ. 2550 ) ชลบุรี เอฟซี
  • ครั้งที่ 12 : 2008 ( พ.ศ. 2551 ) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • ครั้งที่ 13 : 2009 ( พ.ศ. 2552 ) เมืองทองหนองจอกยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 14 : 2010 ( พ.ศ. 2553 ) เมืองทองหนองจอกยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 15 : 2011 ( พ.ศ. 2554 ) บุรีรัมย์ พีอีเอ
  • ครั้งที่ 16 : 2012 ( พ.ศ. 2555 ) SCG เมืองทองยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 17 : 2013 ( พ.ศ. 2556 ) บุรีรัมย์ยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 18 : 2014 ( พ.ศ. 2557 ) บุรีรัมย์ยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 19 : 2015 ( พ.ศ. 2558 ) บุรีรัมย์ยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 20 : 2016 ( พ.ศ. 2559 ) SCG เมืองทองยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 21 : 2017 ( พ.ศ. 2560 ) บุรีรัมย์ยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 22 : 2018 ( พ.ศ. 2561 ) บุรีรัมย์ยูไนเต็ด
  • ครั้งที่ 23 : 2019 ( พ.ศ. 2562 ) เชียงรายยูไนเต็ด

ชื่อรายการแข่งขัน

  • ครั้งที่ 19 (ตั้งแต่ 2560-ปัจจุบัน) : โตโยต้า ไทยลีค
  • ครั้งที่ 18 (2556-2559) : โตโยต้า ไทย พรีเมียร์ ลีค
  • ครั้งที่ 15-17(2553-2555) : สปอนเซอร์ ไทย พรีเมียร์ ลีค (Sponsor Thai Premier League)
  • ครั้งที่ 14 (2552) : ไทย พรีเมียร์ ลีค (Thai Premier League)
  • ครั้งที่ 11-13 (2549-2551) : ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีค (Thailand Premier League)
  • ครั้งที่ 9-10 (2547-2548) : ไทยลีค (Thai League)
  • ครั้งที่ 6-8 (2544-2546) : จีเอสเอ็ม ไทย ลีค (GSM Thai League)
  • ครั้งที่ 3-5 (2541-2543) : คาลเท็กซ์ ไทยแลนด์ พรีเมียร์ ลีค (Caltex Thailand Premier League)
  • ครั้งที่ 1-2 (2539-2540) : จอห์นนี วอล์กเกอร์ ไทยแลนด์ ซอกเกอร์ ลีค (Johnny Walker’s Thailand Soccer League

เงินรางวัล

  • ชนะเลิศ: 10,000,000 บาท
  • รองชนะเลิศ: 2,000,000 บาท
  • อันดับสาม: 1,500,000 บาท
  • อันดับสี่: 800,000 บาท

โดยทาง การกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนเงินรางวัล สำหรับสโมสรฟุตบอล ซึ่งได้คะแนนรวมในอันดับต่างๆ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล

นอกจากนี้ ยังมีเงินบำรุงสโมสรที่เข้าร่วมแข่งขัน สโมสรละ 1,000,000 บาท

  • โล่พร้อมเงินรางวัล 100,000 บาท สำหรับผู้จัดการทีม/หัวหน้าผู้ฝึกสอนยอดเยี่ยม และผู้ทำประตูสูงสุด,
  • โล่พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท สำหรับสโมสรที่มีมารยาทยอดเยี่ยม, นักฟุตบอลเยาวชนผู้มีผลงานโดดเด่น และผู้เล่นยอดเยี่ยมตำแหน่งต่างๆ คือผู้รักษาประตู, กองหลัง, กองกลาง และกองหน้า
กลับสู่สารบัญ

สรุปบอลไทยลีค

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูล บอลไทยลีค ที่เรานำมาฝาก หากคุณเป็นอีกคนที่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอล ก็ควรที่จะศึกษาข้อมูลของทีมโปรดที่คุณชื่นชอบเอาไว้ และต้องศึกษากฎกฎกติกาของไทยลีค ที่มักมีการเปลี่ยนแปลอยู่เสมอ เพราะไม่อย่างงั้นก็อาจจะคุยกับใครไม่รู้เรื่อง