ไขข้อข้องใจ เหตุใด ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน จึงเป็นลีกที่มีผู้ชม มากที่สุดในโลก

บุนเดสลีกา

สิ่งที่สำคัญในวงการโลกฟุตบอลอย่างนึง ต้องยกให้กับแฟนบอลที่เข้าไปอยู่ในสนาม ลีกที่ได้รับความนิยมสูงสุดอย่าง พรีเมียร์ลีก อังกฤษ หรือลาลีกา สเปน แต่ ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน กลับเป็นลีกฟุตบอลที่แฟนบอลในการเข้าไปชมในสนามมากที่สุดในโลก

อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน สามารถทำแบบนั้นได้ ต้องย้อนกลับไปดูเรื่องของวัฒนธรรมแนวความคิดคนเยอรมัน การก่อตั้งสโมสรฟุตบอลมันเริ่มต้นจากคนท้องถิ่น จากแฟนบอลท้องถิ่นเป็นหลัก จึงทำให้ได้รับการสนับสนุนอย่างดี และเหตุผลสำคัญก็คือ ค่าตั๋วต้องไม่แพง

สารบัญ

1. ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน มีค่าตั๋วเข้าชมถูก

2. กฎเหล็ก ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน

3. แฟนบอลมีส่วนร่วม เป็นตัวขับเคลื่อนสโมสร

4. ให้เข้าดูการซ้อมก่อนแข่งจริง

5. เสน่ห์ลีกเยอรมัน

 ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน มีค่าตั๋วเข้าชมถูก

หากใครเคยมีประสบการณ์ดูบอลในสนาม ย่อมรู้ดีว่า ค่าใช้จ่ายในการดูฟุตบอลนั้น ไม่ได้มีแค่ค่าตั๋ว แต่มีทั้งค่าเดินทาง, ค่าอาหาร, ค่าเครื่องดื่ม, ค่าของที่ระลึก ฟุตบอลเยอรมันมองว่า การสร้างบรรยากาศที่ดี ไม่ใช่แค่การให้คนเดินทางมาดูฟุตบอล แล้วกลับบ้าน แต่แฟนบอลต้องมีความสุข ในทุกกิจกรรมที่สนาม

หากแฟนบอลมีความสุขกับการมาดูบอล บรรยากาศของสนามฟุตบอล จะดีไปด้วย ดังนั้นการลดค่าตั๋ว นอกจากจะเป็นการดึงดูดให้แฟนบอล เดินทางมาดูบอลที่สนาม อีกแง่หนึ่ง ต้องบอกว่า ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน ไม่ได้พยายามทำฟุตบอล ให้เป็นธุรกิจทุนนิยมมากเกินไป

ดังนั้น ต่อให้ทีมจะเก่ง จนสามารถโก่งราคาค่าตั๋ว เพิ่มขึ้นได้สูงขนาดไหน พวกเขาก็จะไม่ทำ มีการเปิดเผยว่าราคาตั๋วต่อหนึ่งเกมอยู่ที่ 5.4 ยูโรเท่านั้น ประมาณ 190 บาท ถูกมากพอๆ กับ ไทยลีก ซึ่งถ้าไปเทียบกับ พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ค่าเฉลี่ยต่อเกม ราคาตั๋ว 36.4 ยูโร ประมาณ 1,200 บาท ซึ่งแพงกว่า 6-7 เท่า

เพราะฉะนั้น การมีราคาค่าตั๋วที่มันไม่ได้เวอร์เกินไป ทำให้แฟนบอลทุกชนชั้นเข้าสู่สนามได้ง่ายขึ้น มันอาจจะไม่มีเม็ดเงินมหาศาลในการลงทุนเยอะแยะมากมาย แต่สิ่งตามมาคือความมั่นคง ความมั่นคงในการเดินต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และก็มีความสุขกับคนท้องถิ่น ทำให้สโมสรมันมีฐานที่แข็งแรงมากๆ

ครั้งหนึ่งคนที่เป็น CEO ของลีก บุนเดสลีกา เคยพูดบอกว่า ต้องการให้ทุกคนมีโอกาสเข้าชมเกมในสนามได้อย่างเท่าเทียมกัน ถ้ามองในแง่ธุรกิจ ก็รู้ว่าอาจจะเป็นเรื่องที่มันผิดพลาดมากๆ ที่คุณไม่ยอมขึ้นราคา แต่สุดท้าย มองในภาพรวมของกีฬาฟุตบอล ผมเชื่อว่า บุนเดสลีกา ทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

กลับสู่สารบัญ

กฎเหล็ก ฟุตบอลบุนเดสลีกา เยอรมัน

แนวคิดของผู้บริหารระดับสูง นั้นเหมือนกัน ทำให้องค์กรเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความมั่นคง ตั้งแต่ปี 60 มีกฎว่า แฟนบอลต้องมีส่วนร่วมในสโมสร ด้วยการมีสิทธิ์เป็นเจ้าของสโมสรร่วมด้วย ที่มาของกฎ 56-1 อย่างน้อยต้องมีแฟนบอลถือหุ้นอยู่ในสโมสรเนี่ย 51% คือสิ่งที่เขาปลูกฝังกันมา

และโอกาสที่นายทุนจากต่างชาติ จะเข้ามาเทคโอเวอร์ ไม่มีทางเกิดขึ้น เพราะแฟนบอลก็มีสิทธิ์ที่จะโหวตออกเสียงในการบริหารจัดการ เรื่องที่จะไปเพิ่มราคาตั๋ว ก็จะไม่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ ไม่มีคนไหนที่อยากจะโอเคเพิ่มราคาตั๋วแน่ๆ ในกรณีเข้ามาสวมรอย เป็นเจ้าของสโมสรแบบเกิน 50% แต่มาในนามของกลุ่มแฟนบอล บวกกับเป็นเจ้าของ เลเวอร์คูเซ่น พวกนี้ก็ถือว่ายังอยู่ในกลุ่มที่เป็นธุรกิจของแฟนบอล

กลับสู่สารบัญ

แฟนบอลมีส่วนร่วม เป็นตัวขับเคลื่อนสโมสร

เป็นองค์กรที่เกี่ยวโยงกันทั้งหมด โดยมีแฟนบอลเป็นตัวขับเคลื่อน ถ้าเรามีความรู้สึกเป็นเจ้าของทีมฟุตบอลทีมนึง ต่อให้ทีมนั้นมันจะผลงานไม่ค่อยดี เราก็จะเห็นแฟนบอลเข้าไปเชียร์ในสนามเสมอ ไม่ถูกแบ่งแยกระหว่างสโมสรกับแฟนบอล แต่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นเจ้าของร่วมด้วย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ลีกของเยอรมนี มีค่าเฉลี่ยผู้ชมมากกว่าลีกสูงสุดในโลก

นอกจากนี้ การมีแฟนบอลเป็นเจ้าของสโมสร สามารถช่วยสร้างคาแรคเตอร์ของสโมสร ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ แตกต่างไม่เหมือนใคร ที่ดึงดูดให้แฟนบอลเข้ามา เป็นแฟนพันธุ์แท้ของสโมสร

การใช้พื้นที่ตรงนี้ในการแสดงออกความรู้สึก ความคิดต่างๆ ทั้งเรื่องสังคม เศรษฐกิจ การเมืองต่างๆ มันเป็นพื้นที่ของพวกเขาอย่างแท้จริง รวมถึงการให้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของอย่างน้อย 50 + 1 เปอร์เซ็นต์ ในการมีส่วนร่วมโหวตหรือเข้าประชุมร่วมต่างๆ ซึ่งสุดท้ายคือ การทำกิจกรรมเพิ่มกระชับความสัมพันธ์เพิ่มเข้าไปอีก

กลับสู่สารบัญ

ให้เข้าดูการซ้อมก่อนแข่งจริง

ฤดูกาล 2019-2020 ก่อนที่ฟุตบอลยุโรปจะระงับการแข่งขันชั่วคราว มี 11 สโมสรในบุนเดสลีกา (จากทั้งหมด 18 ทีม) มีจำนวนผู้ชมเฉลี่ยมากกว่า 40,000 คน ขณะที่พรีเมียร์ ลีก มีจำนวนเพียง 8 ทีม และลาลีกา สเปน มีเพียง 4 ทีมเท่านั้น ที่มียอดคนดูมากกว่า 40,000 คน

ซึ่งเป็นเรื่องปกติของทีมระดับกลางไปจนล่าง ที่จะไม่สามารถสร้างยอดผู้ชม ได้เท่ากับทีมหัวตาราง คงไม่ใช่เรื่องแปลก แต่สโมสรฟุตบอลเยอรมัน ทดแทนความสุขจากผลการแข่งขัน ด้วยการทำกิจกรรมกับคนในชุมชน ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุด คือการเปิดให้แฟนบอลเข้าชมการซ้อมของทีม

ปัจจุบันสโมสรฟุตบอลยักษ์ใหญ่ แทบไม่เปิดโอกาสให้แฟนบอล เข้าไปดูการซ้อมของทีมเลย แต่สำหรับ บุนเดสลีกา คุณสามารถเดินเข้าไปดูได้เลย เปิดให้คนเข้าไปดูเกาะริมรั้วดูการซ้อมอย่างเต็มที่ มันเป็นวันครอบครัว วันสำหรับแฟนบอลจริงๆ

โดยเป็นการซ้อมที่ไม่ได้เป็นความลับ และส่วนใหญ่ จะเกิดขึ้นในวันพฤหัสบดี วันศุกร์ อาจจะดูว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ว่ามันช่วยทำให้ความใกล้ชิดระหว่างแฟนบอลกับสโมสรมันยิ่งแนบแน่น ยิ่งขึ้น มันยิ่งทำให้แฟนบอลรู้สึกว่า มันเป็นทีมของพวกเค้าจริงๆ

ให้ความช่วยเหลือแฟนบอลช่วงวิกฤต

นอกจากนี้ สโมสรฟุตบอลในเยอรมัน มักทำกิจกรรมร่วมกับแฟนบอลท้องถิ่น เช่น ในช่วงระบาดไวรัส โควิด-19 โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ปรับสนามเหย้าของทีม ให้กลายเป็นศูนย์รักษาผู้ติดเชื้อ โควิด-19 เพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ ที่พบกับความลำบากช่วงโรคระบาด

สิ่งหนึ่งที่พวกเขาพยายามไม่ให้ความสำคัญ คือเรื่องของเงิน ผลประโยชน์ทางธุรกิจ พวกเขาใช้เงินอย่างประหยัด ในการซื้อขายนักเตะ เพราะหลายสโมสร มีประสบการณ์เฉียดล้มละลายมาแล้ว สโมสรในเยอรมัน จะไม่มีการทุ่มเงินซื้อนักเตะ ก่อนจะกลับมาขูดรีดแฟนบอล ด้วยค่าตั๋วราคาแพง หากทำแบบนั้น วันหนึ่งที่ทีมผลงานไม่ดี แฟนบอลที่เข้ามาเชียร์ตามกระแส หรือผลงานจะหายไป

กลับสู่สารบัญ

เสน่ห์ลีกเยอรมัน

สิ่งที่ทำให้แฟนบอลเยอรมัน ยังคงสนับสนุนทีมรัก คือความผูกพันที่มีให้กัน และกัน เมื่อสโมสรฟุตบอลถูกสร้างมาเพื่อแฟนบอล แฟนบอลก็พร้อมให้การสนับสนุนสโมสร และเป็นเรื่องน่ายินดี ที่ลีกฟุตบอลบุนเดสลีกา กลับมาทำการแข่งขันอีกครั้ง แต่น่าเสียดายที่ โควิด-19 ทำให้ต้องขาดเสน่ห์สำคัญไป อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงวันที่แฟนบอลได้กลับเข้าสู่สนามอีกครั้ง เราจะได้เห็นฟุตบอลบุนเดสลีกา ที่เต็มไปด้วยแฟนบอล